เมื่อครั้งที่ผมนำบทความนี้
เผยแพร่ที่ gotoknow
มีผู้มาให้ความเห็นประปราย จึงขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วย
คุณ
Sasinand
(28 เมษายน 2550 10:10) เข้ามาถามดังนี้
เรียนอาจารย์ค่ะ
คำว่า นิพพาน มีการเอาไปใช้บ่อย ในความหมายต่างๆ เช่น ฉันนั่งธรรมะ
แล้วไปนิพพานทุกวัน บางทีงงๆ
อยู่ที่ จะใช้ความหมายใดค่ะ
อยากให้อาจารย์อธิบายว่า มีกี่ความหมายคะ ขอบพระคุณค่ะ
|
ผมตอบไป
ดังนี้ (28 เมษายน 2550 18:41)
ต้องขออธิบายแบบนี้นะครับ ภาษานั้นเป็นเรื่องของการตกลงกัน
และเป็นศิลปะด้วย ดังนั้น
ความหมายในแต่ละที่แต่ละแห่งนั้น เราต้องดูบริบท
ถ้าถามว่า
นิพพานไปใช้กี่ความหมาย ตอบยาก
แต่ถ้ามีตัวอย่างและมีข้อความประกอบด้วย และถามว่า
นิพพานในส่วนนี้หมายความว่าอย่างไร
เป็นความหมายตรงตัว หรือความหมายแฝง อย่างนี้พอตอบได้
สำหรับข้อความนี้
“ฉันนั่งธรรมะ แล้วไปนิพพานทุกวัน”
ถ้าคนพูดฝึกวิชชาธรรมกายและผ่านวิชชา 18 กายไปแล้ว ทำได้ครับ
แต่ก็เป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นเท่านั้น
การไปนิพพานในสายวิชชาธรรมกายไม่ได้หมายความว่า
บรรลุพระอรหันต์แล้วนะครับ
อาจเป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นก็ได้
พูดให้เข้าใจง่ายๆ
อีกนิดก็คือ ผมยังไม่เคยเห็นหรือไม่เคยทราบข่าวว่า
มีคนบรรลุพระอรหันต์เพราะวิชชาธรรมกายเลย
คือ
มีคนปฏิบัติธรรมสายวิชชาธรรมกายขั้นสูงมีหลายคน
แต่ก็ยังไม่บรรลุ
แต่ถ้าถามว่า
หลักสูตรวิชชาธรรมกาย สอนถึงบรรลุพระอรหันต์มีไหม
หลักสูตรมีครับ อยู่ในหนังสือของหลวงพ่อสด และหนังสือของคุณลุงการุณย์
บุญมานุช
ที่เขียนมาทั้งหมดข้างบน ถ้าถามผมว่า
ผมสามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ไหม
ทำได้ครับ คือ หาเด็กๆ
ญาติพี่น้อง ตั้งแต่ 4
ขวบเป็นต้นไปเลย ซัก 10-20 คนก็ได้ มากกว่านั้นก็ยิ่งดี
แล้วนัดวันเลยครับ ผมจะพาวิทยากรไปสอนให้ดู พิสูจน์กันเลย
ที่กล้ายืนยันอย่างนั้น
เพราะ วิทยากรกลุ่มของเราสอนมาแล้วเป็นระดับแสนๆ คนนะครับ
|
ต่อไป คุณหัตถา [IP: 61.19.65.38] 01 กรกฎาคม
2550 11:11 เข้ามาให้ความเห็น ดังนี้
พุทธฝ่ายหินยาน และ ธรรมยุติ โดยเฉพาะ ท่านพุทธทาส
และพระอาจารย์มั่น อธิบายคำว่า "นิพพาน" คือ ความสามารถในการตัดกิเลส
ตัณหา
เมื่อใดก็ตามที่เรา ไม่รู้สึก อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงใหลสิ่งใด
เมื่อนั้นเราก็นิพพานแล้ว
|
คุณเอกชน
(06 กุมภาพันธ์ 2551 13:33)
ตามขอยกยอคุณหัตถา ดังนี้
3. หัตถา <<< ข้อความที่ยกมาเข้าใจง่ายดีครับ เป็น ดร. หรือเปล่าครับ
|
คุณเมธิโก
[IP: 218.186.9.6] 05 พฤศจิกายน 2551 01:16 เข้ามาให้ความเห็นดังนี้
มีแต่คนปัญญาอ่อน ตัวเองยังไม่บรรลุ
อะไรก็เขียนหรือสรุปว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ขอให้บรรลุอะไรสักอย่างก่อนนะ
ค่อยมาเขียน
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
อย่าเชื่อเพราะฟังกันต่อๆมา
อย่าเชื่อเพราะทำกันมานาน
อย่าเชื่อเพราะคำเล่าลือ
อย่าเชื่อเพราะมีอยู่ในตำรา
อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้
อย่าเชื่อเพราะตรงกับใจ
อย่าเชื่อเพราะมีเหตุผล
อย่าเชื่อเพราะตรงแนวคิดของคุณ
อย่าเชื่อเพราะดูกิริยาน่าเชื่อถือ
อย่าเชื่อเพราะท่านเป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใดพิจารณาด้วยปัญญาว่า เป็นกุศลควรทำให้เจริญ
เป็นอกุศลควรละให้สิ้น
|
คุณปัทมปาณี
[IP: 203.130.138.66] 20 ตุลาคม 2553 09:53 เข้ามาให้ความเห็นอีกคน ดังนี้
อนุโมทนาครับ เป็นเช่นนี้แล
|
ผมเข้าก็เลยตอบไปทีเดียวหลายคน
ดังนี้ (20 ตุลาคม 2553 11:20)
เรียน
คุณเมธิโก [IP:
218.186.9.6] กับคุณปัทมปาณี [IP: 203.130.138.66]
ในพระไตรปิฎกมีข้อความตอนหนึ่งว่า
"ธาตุธรรมเหมือนกันก็ย่อมไปด้วยกัน"
คุณสองคนเพิ่งพิสูจน์ให้ผมได้รู้อีกครั้งหนึ่งคือ คนโง่ก็มักจะคบหากัน
โง่ด้วยกัน
อ่านข้อเขียนกันเอง ก็นึกว่า ต่างคนต่างฉลาด หลอกตัวเองว่างั้นเถอะ
คุณเมธิโก
ที่คุณยกมานั้นเป็นส่วนบทนำของ "อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรค เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)"
ที่พุทธวิชาการส่วนใหญ่
มักจะแปลว่า "ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง"
ซึ่งทำให้สาวกพุทธวิชาการ เข้าใจผิดเนื้อหาของพระสูตรนี้ไปหมด
ข้อความที่จะยกต่อไป
ผมนำมาจาก "พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙
- ๑๘๔"
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนที่เป็น "ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง"
เป็นส่วนบทนำของพระสูตรนี้เท่านั้น สาระสำคัญของในส่วนหลัง
พระสูตรนี้
พระปริยัติไทยรู้มานานแล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญอันใด เพราะ รู้อยู่ว่า
ความสำคัญมันอยู่ในส่วนหลัง และไม่ได้เป็นพระสูตรหลักๆ อย่างเช่น อนัตตลักขณสูตร
ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนข้อความที่ว่านั้น
มาดังเพราะ ฝรั่งมาอ่านพบเข้า ฝรั่งแตกตื่น ดีใจ พวกทาสความคิดฝรั่งก็ทำให้ส่วนนั้น
โด่งดังขึ้นมา
ส่วนที่สำคัญที่สุดของพระสูตรอยู่ตรงนี้
เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
นี่แหละเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ส่วนที่เหลือไปจากนี้ ผมจะยกตัวอย่างเป็นบางส่วน คือ ส่วนที่อธิบายส่วนที่สำคัญนั้น
|
………………………
ดูกร กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์
หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์
พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ
มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
พวกกาลามะ : จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์
หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์?
พวกกาลามะ : เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ
ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้
คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความหลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์
หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
พวกกาลามะ : เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ
มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด
เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล
ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
พวกกาลามะ : จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
พวกกาลามะ : เป็นอกุศล พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : มีโทษหรือไม่มีโทษ?
พวกกาลามะ : มีโทษ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
พวกกาลามะ : ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่
ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
พวกกาลามะ : ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้
.......................................
คุณเมธิโก
[IP: 218.186.9.6] กับคุณปัทมปาณี [IP: 203.130.138.66]
ที่ผมเขียนไปนั่น ผมไม่คิดว่า คุณทั้ง 2 คนจะเข้าใจ ความโง่ของคุณ กิเลสของคุณ
จะปิดบังความคิดของคุณ
ที่เขียนๆ
ไปนี่ ผมเขียนให้คนที่ฉลาดๆ ที่เข้ามาอ่าน เข้าใจเท่านั้น.....
|
ต่อไป
คุณงง [IP:
111.84.33.42] 21 สิงหาคม 2552 12:12 พยายามเข้ามาอีกครั้ง
คุณงงพยายามจะมาแสดงความเห็นเพื่อให้ผมโต้แย้งหลายครั้ง
ผมไม่เคยโต้ตอบเพราะ
คุณงงนี่ ในความคิดของผมแกทั้งงง ทั้งโง่ ทั้งอยากดัง แต่อยากจะเขียนก็เขียนไป
แต่ผมไม่เสวนาด้วย
ครั้งนี้
ท่านให้ความเห็นดังนี้
อุ้ย พ่อฉลาด ขาดปัญญา หารู้ไม่ ท่านบรรลุอรหันต์แล้ว หรือ จะ
นิพพานเมื่อไรบอกด้วยนะ จะทำบุญส่งให้ ไปเร็วนะ
อยู่ไปคำสอนพระพุทธเจ้าเสียหายหมด
ก็พระพุทธเจ้าไม่ให้สอนว่านิพพานเป็นอะไร พระไตรปิกฏเล่มที่ ๑๑
นะอ่าน บางไหม คนฉลาด
|
สุดท้าย
คุณแนะนำ [IP:
202.29.62.252] 23 พฤษภาคม 2553 12:50 เข้ามาให้ความเห็นดังนี้
บอกว่านิพพาน คือ ที่หมดแห่งทุกข์ทั้งปวง เราก็เกิดความอยากได้ขึ้นมา
เราก็หาทางที่ถูกต้องที่จะปฏิบัติ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทางไหนล่ะที่ถูกต้อง
เปิดพระไตรปิฎก อ่านก็มาก ปรากฏว่าเกิดความสับสน ลองปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติแล้วเกิดทุกข์หรือไม่
เอาที่ปัจจุบันนี้ดูตัวเองว่าปฏิบัติไปแล้วตัวเองทุกข์หรือไม่ ถ้าไม่ทุกข์ก็แสดงว่าอันนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ไปต่อได้
ถ้าปฏิบัติไปแล้วเกิดทุกข์แล้วเราจะปฏิบัติไปทำไม
ต้องถามตัวเองตลอด
|