ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ข้อความของนายพายุช้างสารที่เหลือ ขอยกเนื้อหาข้อความของนายพายุช้างสารที่สรุปไว้เป็นข้อๆ อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
- อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร
- อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ
- อายตนนิพพานเป็นเหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด
- อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)
- คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉาน
ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว 3 ข้อ ต่อไปนี้ เป็นข้อที่ 4
4) อายตนะนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)
ข้อความที่ว่า "อายตนะนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)" นี้ ต้องอธิบายกันยาว เพราะ อายตนะนิพพานนั้น ผู้ที่ "รู้" และ "เข้าใจ" จริงๆ ก็คือ พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ รวมถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดังนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ภาษาศาสตร์ นิพพาน/พระนิพพาน/อายตนะนิพพานนั้น ไม่มีภาษาของมนุษย์ทั่วไปที่จะบรรยายได้ตรงตามเป็นจริง
พระพุทธเจ้าจึงทรงอธิบายโดยใช้ศัพท์ในภาษาบาลีเพื่อเทียบเคียงให้เข้าใจเท่า นั้น ในบางพระสูตรจึงทรงใช้คำ "ปฏิเสธ" ว่าไม่ใช่สิ่งโน้น ไม่ใช่สิ่งนี้
ดังนั้น ถ้าจะ "จับผิด" กันจริง หรือยึดหลักภาษาศาสตร์จริงๆ เราไม่สามารถใช้คำว่า "สถานที่" ที่หมายถึง "สถานที่ในโลกมนุษย์" กับอายตนะนิพพานได้ แต่ถ้าต้องการสื่อสารกันให้เข้าใจ เราก็สามารถจะใช้คำว่า "สถานที่" กับอายตนะนิพพานได้
ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะสื่อสารกันได้อย่างไร
ในประเด็นนี้ ถ้านายพายุช้างสารจะยืนยันว่า อายตนะนิพพานไม่ใช่สถานที่ (เมื่อเทียบเคียงกับภาษาของมนุษย์ที่ไม่เคยเห็นนิพพาน)
นายพายุช้างสารก็ต้องหาหลักฐานมา "แย้ง" พระสูตรทั้ง 3 หลักฐานข้างต้น เพราะ ความหมายของพระสูตรดังกล่าวนั้น แสดงว่า อายตนะนิพพาน "มีอยู่"
โดยปกติแล้ว พวกพุทธวิชาการ/นักปริยัติที่เชื่อว่า นิพพานสูญไปนั้น ไม่กล้าเขียนถึงพระสูตรทั้ง 3 หลักฐานข้างต้นที่ผู้เขียนนำมาเป็นหลักฐาน เพราะ ไม่รู้จะแย้งพระสูตรทั้งสามนั้นอย่างไร
พุทธพจน์นั้น นักวิชาการทั้งโลกยอมรับกันว่า เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง ขนาดอรรถกถา ฏีกา ฯลฯ ถ้าขัดแย้งกับพุทธพจน์ก็ถือว่าใช้ไม่ได้
ดังนั้นพวกพุทธวิชาการ/นักปริยัติที่เชื่อว่า นิพพานสูญจึงใช้วิธีการอ้างลำเอียง (card staking) ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติ (fallacy) ในทางตรรกวิทยาคือ ไม่กล่าวถึงเสียเลยเป็นส่วนใหญ่
5) คนที่เชื่อว่า อายตนะนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉาน
เมื่อถึงข้อสุดท้ายนี้ จึงไม่มีคำวิพากษ์วิจารณ์อะไร เพราะ จากหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า นายพายุช้างสารไม่ได้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับนิพพานแม้แต่น้อย
และโดยสรุปแล้ว นายพายุช้างสารเองนั่นแหละที่ "เป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า"
นอกจากนั้นแล้ว นายพายุช้างสารยังเป็นคนที่ฉลาดน้อย แต่คิดว่า ตัวเองฉลาดมากอีกด้วย
สรุป
จากที่ผู้เขียนได้อธิบายมาจนยืดยาวถึงขนาดนี้ สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า ในแวดวงผู้ที่สนใจในพระศาสนา มีบุคคลหน้าใหม่เข้ามาร่วมปะทะสังสรรค์กันอยู่เสมอๆ
ในประเด็นถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ บุคคลหลายคนไม่ได้มีองค์ความรู้ที่แน่นหนาอะไรนัก
พวกนี้เห็นว่า เว็บไซต์ต่างๆ นั้น สามารถเข้าร่วมปะทะสังสรรค์กันได้ เพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเท่านั้น จึงเข้าไปร่วมสังสรรค์ เพื่อไปแสดงความโง่ของตนเองเท่านั้น
ดังนั้น เว็บไซต์ต่างจึงมีบุคคลที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง อ่านหนังสือไม่มากนัก แต่โมหะนั้นมากมายล้นเหลือ อย่างเช่น นายพายุช้างสารที่ยกมาข้างต้นปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
กลุ่มคนพวกนี้ มักจะชอบดูถูกคนอื่นๆ ที่มีความเห็นแตกต่างจากตนว่า โง่เง่าเต่าตุ่น โดยไม่เคยส่องกระจกเพื่อชะโงกดูเงาของตนเองเลยว่า ตนเองนั่นแหละโง่เง่าเต่าตุ่นตัวจริงเสียงจริง
ประการสุดท้ายก่อนจาก ฟรานซิส เบคอน (1561-1626) กล่าวว่า ความรู้นั้นเองคืออำนาจ (Knowledge itself is power.) ผู้ที่มีความรู้จริงก็สามารถนำไปสร้างอำนาจ สร้างฐานะ สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้
สำหรับคนที่รู้ไม่จริง เช่น นายพายุช้างสารคนนี้ อำนาจของความไม่รู้ก็กลับมา "ฆ่า" ชื่อเสียงหน้าตาของตนเองได้ น่าสมเพทเวทนาแท้ๆ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น