บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิพพานกับความหมายตรงตัว


ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะนำเสนอในบทความนี้ก็คือ ความหมายตรงตัว (Denotative meaning) ของคำว่า นิพพาน” 

เนื่องจากผู้เขียนพบว่า ความหมายของนิพพานที่ใช้กันในปัจจุบันมีมากมายหลายความหมาย

นอกจากจะใช้คำว่า นิพพานในหลายความหมายแล้ว ยังใช้คำอื่นๆ มาแทนความหมายของคำว่า “นิพพาน” อีกด้วย

ความหมายที่ใช้แตกต่างกันนั้น ถ้าใช้ได้ถูกตามบริบท (context) ของภาษาก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เท่าที่พบเห็นมานั้น ใช้ไม่ถูกต้อง เพราะไม่เข้าใจในหลักการของภาษา

การใช้คำว่า นิพพานไปในหลายความหมาย และใช้คำอื่นๆ มาแทนความหมายของคำว่านิพพาน พุทธวิชาการหรือนักปริยัติเหล่านั้น อ้างว่า เป็นคำ ไวพจน์ซึ่งกันและกัน

ในทางภาษาศาสตร์ (linguistics) ไม่มีการใช้คำไวพจน์แบบที่ใช้อธิบายพระไตรปิฎกของพวกนักปริยัติ กล่าวคือ นึกจะใช้คำใดแทนคำใด ก็แทนกันได้ดื้อๆ ไม่มีหลักการทางวิชาการ

คำแต่ละคำในทางภาษาศาสตร์นั้น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทุกตำแหน่ง  ยกตัวอย่างเช่น คำชุดที่ว่า กิน รับประทาน แดก ยัดห่า สวาปาม ฉัน เสวย เป็นต้น

คำเหล่านี้มีความหมายหลักๆ เหมือนกัน คือ นำอาหารเข้าไปในปากเพื่อชีวิตรอด  แต่คำเหล่านั้น ไม่สามารถแทนที่กันได้ทุกตำแหน่ง

แต่ละคำนั้นจะใช้กันในบริบทที่แตกต่างกันไป

สำหรับเหตุผลที่ต้องการเขียนขึ้นมาในขณะนี้  ก็เกิดจากการที่ผู้เขียนเข้าไปเที่ยวเล่นในเว็บธรรมะ และอ่านพบข้อความหนึ่งในเว็บเกี่ยวกับธรรมะ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับนิพพาน  ข้อเขียนดังกล่าวนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจมาก

ที่ว่า น่าสนใจ เพราะเป็นตัวอย่างถึงความเป็นตัวตนของพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งได้อย่างดี หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า

ข้อเขียนดังกล่าว แสดงให้เห็นสภาพการณ์ของพุทธศาสนาส่วนหนึ่งได้อย่างดี

ผู้เขียนจึงนำมาเขียนเพื่อบอกเล่าสู่กันฟัง และเพื่อต้องการให้เกิดการถกเถียงเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการต่อไป

ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างข้อเขียนดังกล่าวนั้น โดยไม่บอกว่าผู้เขียนข้อความดังกล่าวเป็นใคร และนำมาจากเว็บใด

เพราะการเขียนครั้งนี้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ และผลจากการเขียนครั้งนี้ ตัวผู้เขียนข้อความดังกล่าวจะได้รับความเสียหาย เพราะไม่มีความรู้จริงในข้อเขียน คือ ไม่มีความรู้จริงเกี่ยวกับนิพพานเลย

นอกจากจะไม่มีความรู้จริงในข้อเขียนแล้ว อำนาจของโมหะอันมืดมิดของผู้เขียนดังกล่าว ทำให้ไปโจมตีผู้อื่นว่า มีปัญญาอ่อนด้อยกว่าตัวเองหรือ "โง่" กว่าตนเองอีกด้วย

เหตุผลที่ไม่ต้องบอกว่าผู้เขียนข้อความดังกล่าวเป็นใครและนำมาจากเว็บใดอีกประการหนึ่งก็คือ  แนวคิดดังกล่าวพบเห็นได้โดยทั่วไป  สามารถอ่านได้จากเว็บทั่วไปๆ หรือหนังสือทั่วๆ

ผู้เขียนจึงขอยืมข้อความนั้น มาเป็นตัวอย่างเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เท่านั้น

อนึ่ง ข้อเขียนของผู้เขียนในบทความนี้ ใครจะ "ยืม" ไปเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ตัวของผู้เขียนเอง ผู้เขียนก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าวิพากษ์วิจารณ์แล้ว นำมาลงในเว็บไซต์แห่งนี้ ก็ยิ่งดีใหญ่ เพราะจะทำให้เกิดความก้าวหน้าในวงวิชาการมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนขอตั้งชื่อสมมุติให้กับบุคคลดังกล่าวว่า นายพายุช้างสารเพื่อไม่ให้สำนวนภาษาในบทความนี้ วกวนสับสนปนเประหว่างตัวของผู้เขียนบทความนี้เอง กับตัวของผู้เขียนบทความดังกล่าว

ข้อความของนายพายุช้างสารที่เป็นประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์ในวันนี้ มีดังนี้

ส่วนเรื่องอายตนนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่า จะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย 

อายตนนิพพานตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ ก็คือดับที่เหตุ ดับที่บ่อเกิดหรือดับที่แดนเกิดฯ

ถ้าคิดจะพยายามให้เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) ละก็ ย่อมแสดงว่าเป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า

อธิบายมามากแล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเข้าใจได้ตามสมควร

ข้อความดังกล่าวนั้น ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว เป็นที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่านายพายุช้างสารแสดงอำนาจของความรู้ของตนเองซึ่งไม่ถูกต้อง และดูถูกผู้อื่นที่มีความเห็นไม่ตรงกันไปเสียสิ้น

ถึงกับกล้าตราหน้าผู้อื่นว่า “เป็นคนอ่อนภาษาอ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า

ผู้เขียนในฐานะที่ร่ำเรียนและมีอาชีพในด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics)  ขอยืนยันในเบื้องต้นนี้ก่อนว่า นายพายุช้างสารนั่นเองแหละ อ่านหนังสือไม่แตก อ่านหนังสือไม่มาก

นายพายุช้างสารเลือกอ่านหนังสือของผู้ที่ตน "เชื่อ" ว่ามีความรู้จริง  และ "ลอก" ความคิดของหนังสือดังกล่าว โดยไม่มีความคิดเป็นของตนเองเลย

หนังสือเล่มใดที่มีแนวความคิดของฝ่าย ตรงข้าม นายพายุช้างสารกับผู้ที่มีแนวคิดไปในทำนองเดียวกัน ก็จะไม่สนใจที่จะอ่านเพื่อนำมาวิเคราะห์หรือศึกษาให้ความรู้แตกฉานเพิ่มพูนขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว นายพายุช้างสารเป็นคนที่ไม่เข้าใจและไม่มีความรู้เกี่ยวกับนิพพานเลย และไม่มีความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics) เลยแม้แต่น้อย

ถ้าจะกล่าวให้ตรงประเด็นลงไปเลยก็คือ  นายพายุช้างสารไม่ได้มีความรู้ในด้านภาษาไทยอย่างนักวิชาการเลย 

มีความรู้ภาษาไทยดังเช่นคนทั่วๆ ไป ซึ่งใช้ภาษาไทยได้เพื่อการสื่อสารเท่านั้น และการสื่อสารของนายพายุช้างสารนั้น ผู้เขียนค่อนข้างแน่ใจว่า ไม่น่าจะประสบความสำเร็จเท่าใดนัก

ที่กล่าวว่า นายพายุช้างสารไม่สนใจอ่านหรือรับฟังแนวคิดที่มีความตรงกันข้ามกับตัวเอง  มีหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในเว็บไซต์หนึ่งของไทย

เว็บไซต์ดังกล่าวนี้ ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถ โหวต (Vote) ให้มีการลบกระทู้ได้ ผู้ที่เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ที่ว่านี้ จะพบเห็นได้เป็นประจำว่า

ถ้ามีความคิดเห็นในกระทู้ใด ไม่ตรงกับความคิดเห็นของกลุ่มของตนเอง ก็จะถูกแจ้งให้ลบกระทู้กันเป็นประจำ

โดยสรุปในเบื้องต้น

ผู้เขียนขอยืนยันว่า นายพายุช้างสารดังกล่าวนั่นเองที่ไม่ได้มีความรู้อันถูกต้องเกี่ยวกับนิพพาน เลย โดยผู้เขียนมีหลักฐานประกอบดังข้อความที่จะกล่าวต่อไป

บทความชุดนี้เขียนมานานแล้ว ถึงตอนนี้บอกได้แล้วว่า นายพายุช้างสารคือใคร ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นคุณ Ritti Janson  ซึ่งตอนนี้ระหกระเหิน ลงบทความที่ไหนก็ถูกเขาไล่แห่อยู่เรื่อย

ถ้า Ritti Janson  ทราบข่าวนี้ โปรดติดต่อผมด้วย เพราะ ตอนนี้ Ritti Janson  ชอบวิพากษ์วิจารณ์พระพรหมคุณาภรณ์-พระธรรมปิฎก-พระประยุทธ์-พระเปลืองข้าวสุกประชาชน  ส่วนผมวิพากษ์วิจารณ์พระรูปนี้มานานแล้ว

ศัตรูของศัตรูคือมิตร  หรือ Ritti จะว่ายังไง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น