บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อายตนะนิพพาน-ดับอายตนะ

ข้อผิดพลาดของนายพายุช้างสาร

ขอยกข้อเขียนของนายพายุช้างสารอีกครั้งหนึ่งดังนี้

ส่วนเรื่องอายตนนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่า จะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย

อายตนนิพพานตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ ก็คือดับที่เหตุ ดับที่บ่อเกิดหรือดับที่แดนเกิดฯ

ถ้าคิดจะพยายามให้เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) ละก็ ย่อมแสดงว่าเป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า อธิบายมามากแล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเข้าใจได้ตามสมควร

ข้อความของนายพายุช้างสารนั้น สามารถแยกย่อยออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร
อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ
อายตนนิพพานเป็นเหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด
อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)
คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน

ผมขอวิพากษ์วิจารณ์เป็นข้อๆ ไปดังนี้

1) อายตนะนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร

ข้อนี้ โดยเบื้องต้นผู้เขียนต้องยอมรับข้อเขียนของนายพายุช้างสารเสียก่อนว่าถูกต้อง  ดังนั้น เมื่อนายพายุช้างสารกล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับ "อายตนะนิพพาน" เป็นเรื่องง่ายของนายพายุช้างสาร

ผู้เขียนก็ต้องยอมรับก่อนว่า นายพายุช้างสารคงจะมีหลักฐานทางวิชาการแน่นหนา  น่าจะเรียนในโลกและเรียนในทางธรรมในขั้นสูง

นอกจากนั้นแล้ว ก็คงจะปฏิบัติธรรมจนได้ผลดีพอสมควร หรือดีมากๆ  จนถึงกระทั่งว่า เรื่องนิพพานซึ่งนักวิชาการถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดงกันไปทั่วโลก ก็ยังหาข้อยุติกันไม่ได้  จนกระทั่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเป็นอย่างน้อย

แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่า ข้อความของนายพายุช้างสารเป็นจริงหรือไม่เพราะดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประเด็นเรื่องนิพพานนี้ เป็นที่ถกเถียงกันในวงวิชาการมาช้านาน

วงวิชาการที่ว่านั้น ก็มีผู้ทรงความรู้มากมายที่เข้ามาร่วมวงถกเถียงกัน ทั้งผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และพวกเปรียญต่างๆ  ซึ่งข้อถกเถียงกังกล่าวนั้น ยังไม่ยุติว่า ฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด

อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประเด็นเรื่อง อายตนะนิพพาน ยังเป็นปัญหาสำหรับวงวิชาการอยู่ 

ไม่ทราบว่านายพายุช้างสารมีองค์ความรู้ใด หรือมีระดับความฉลาดทางปัญญา (IQ) อยู่ในระดับใด จึงอาจหาญกล้ากล่าวในที่สาธารณะว่า "ส่วนเรื่องอายตนะนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่าจะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย"

2) อายตนะนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ" นี้  ทำให้ผู้เขียน "รู้" และ "เข้าใจ" ว่า นายพายุช้างสารไม่ได้เข้าใจเรื่องนิพพานเลยแม้แต่น้อย

เพราะในพระไตรปิฎกไม่ได้ใช้คำว่า "อายตนะนิพพาน" แต่จะใช้คำว่า "อายตนะ", "อมตนิพพาน", และ "นิพพาน"  ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

คำว่า "อายตนนิพพาน" เป็นภาษาไทย ซึ่งในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อสด ก็ขอยืนยันว่า หลวงพ่อสดหมายถึง "ที่" ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะไปอยู่ เมื่อปรินิพาน/นิพพานไปแล้ว

เมื่อเป็นภาษาไทยแล้ว ก็ไม่ต้องไปแปลอีกแล้ว นี่คือ "ความไม่รู้" ประการที่ 1 เกี่ยวกับคำศัพท์ของนิพพานของนายพายุช้างสาร

ประการที่ 2  ความหมายตรงตัว (Denotative meaning) ของนิพพานไม่ได้แปลว่า "ดับ"  ดังนั้น ไม่ควรนำความหมายโดยนัยมาใช้กับบริบท (context) นี้

การที่นายพายุช้างสารแปลคำว่า อายตนะนิพพานเป็นว่า ดับนิพพานเป็นตัวอย่างที่ดีของการแปลความหมายของคำต่างๆ ในพระไตรปิฎกไปตามความเห็น/ความเชื่อของตนเอง

เพราะ ตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนที่มีความเห็น/ ความเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพียงชาติเดียวตามความบังเอิญของธรรมชาติเท่านั้น

ความหมายโดยนัยของนิพพานที่หมายถึงว่า ดับกิเลสหมดจนเข้านิพพาน ก็กลับกลายมาเป็นดับนิพพานหรือนิพพานดับไปเสียเลย

เพียงหลักฐานเพียงข้อนี้ ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า นายพายุช้างสารคงศึกษาทั้งด้านวิชาการทางโลกและทางธรรมไม่มากนัก  เพราะ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ นายพายุช้างสารยังไม่ทราบ กล่าวคือ คำไหนเป็นภาษาไทย  คำไหนเป็นภาษาบาลี

นอกจากนั้นแล้ว ถ้ารู้ว่าผู้ใดใช้ศัพท์คำไหน เช่น หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้ศัพท์คำว่า "อายตนะนิพพาน"  นักวิชาการที่ดีเข้าก็จะต้องศึกษาและตีความ "อายตนนิพพาน" ในความหมายที่หลวงพ่อสดหมายถึง 

ไม่ใช่ไปตีความใหม่ตามความคิดของตนเอง แล้วการศึกษามันจะได้ผลตรงตามความเป็นจริงได้อย่างไร

3) อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด"  ยิ่งแสดงถึงความไม่รู้ของนายพายุช้างสารมากขึ้นไปอีก เพราะนิพพานไม่ได้เป็น "เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" แต่เป็นจุดหมายปลายทาง (end) ของพุทธศาสนิกชน

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" นั้น สามารถ "ฟันธง" ได้เลยว่า นายพายุช้างสารไม่ได้ศึกษาในเรื่องศาสนามาเท่าใดนัก

ความรู้ที่ว่า อายตนะนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของพุทธศาสนิกชน เป็นเรื่องง่ายๆ จริงๆ  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครมาสับสนในเรื่องนี้  ที่สับสนกันก็มักจะเป็นว่า นิพพานสูญไปเลยหรือไม่ หรือนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาอะไรในทำนองนั้น

ผู้เขียนบทความนี้ก็เพิ่งพบว่า มีคนเข้าใจผิดว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด"...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น