บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

คนโง่มักจะคบหากัน


เมื่อครั้งที่ผมนำบทความนี้ เผยแพร่ที่ gotoknow มีผู้มาให้ความเห็นประปราย จึงขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คุณ Sasinand (28 เมษายน 2550 10:10) เข้ามาถามดังนี้

เรียนอาจารย์ค่ะ

คำว่า นิพพาน มีการเอาไปใช้บ่อย ในความหมายต่างๆ เช่น ฉันนั่งธรรมะ แล้วไปนิพพานทุกวัน  บางทีงงๆ อยู่ที่ จะใช้ความหมายใดค่ะ

อยากให้อาจารย์อธิบายว่า มีกี่ความหมายคะ ขอบพระคุณค่ะ

ผมตอบไป ดังนี้ (28 เมษายน 2550 18:41)

ต้องขออธิบายแบบนี้นะครับ  ภาษานั้นเป็นเรื่องของการตกลงกัน และเป็นศิลปะด้วย  ดังนั้น ความหมายในแต่ละที่แต่ละแห่งนั้น เราต้องดูบริบท  

ถ้าถามว่า นิพพานไปใช้กี่ความหมาย ตอบยาก 

แต่ถ้ามีตัวอย่างและมีข้อความประกอบด้วย  และถามว่า  นิพพานในส่วนนี้หมายความว่าอย่างไร  เป็นความหมายตรงตัว หรือความหมายแฝง อย่างนี้พอตอบได้ 

สำหรับข้อความนี้ ฉันนั่งธรรมะ แล้วไปนิพพานทุกวันถ้าคนพูดฝึกวิชชาธรรมกายและผ่านวิชชา 18 กายไปแล้ว  ทำได้ครับ  แต่ก็เป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นเท่านั้น 

การไปนิพพานในสายวิชชาธรรมกายไม่ได้หมายความว่า บรรลุพระอรหันต์แล้วนะครับ  อาจเป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นก็ได้ 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ อีกนิดก็คือ ผมยังไม่เคยเห็นหรือไม่เคยทราบข่าวว่า มีคนบรรลุพระอรหันต์เพราะวิชชาธรรมกายเลย 

คือ มีคนปฏิบัติธรรมสายวิชชาธรรมกายขั้นสูงมีหลายคน  แต่ก็ยังไม่บรรลุ 

แต่ถ้าถามว่า หลักสูตรวิชชาธรรมกาย สอนถึงบรรลุพระอรหันต์มีไหม

หลักสูตรมีครับ  อยู่ในหนังสือของหลวงพ่อสด และหนังสือของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช 

ที่เขียนมาทั้งหมดข้างบน  ถ้าถามผมว่า ผมสามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ไหม  ทำได้ครับ  คือ หาเด็กๆ ญาติพี่น้อง  ตั้งแต่ 4 ขวบเป็นต้นไปเลย  ซัก 10-20 คนก็ได้  มากกว่านั้นก็ยิ่งดี

แล้วนัดวันเลยครับ  ผมจะพาวิทยากรไปสอนให้ดู  พิสูจน์กันเลย   

ที่กล้ายืนยันอย่างนั้น เพราะ วิทยากรกลุ่มของเราสอนมาแล้วเป็นระดับแสนๆ คนนะครับ

ต่อไป  คุณหัตถา [IP: 61.19.65.38] 01 กรกฎาคม 2550 11:11 เข้ามาให้ความเห็น ดังนี้

พุทธฝ่ายหินยาน และ ธรรมยุติ โดยเฉพาะ ท่านพุทธทาส และพระอาจารย์มั่น อธิบายคำว่า "นิพพาน" คือ ความสามารถในการตัดกิเลส ตัณหา

เมื่อใดก็ตามที่เรา ไม่รู้สึก อยากได้ อยากมี อยากเป็น  ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงใหลสิ่งใด เมื่อนั้นเราก็นิพพานแล้ว

คุณเอกชน (06 กุมภาพันธ์ 2551 13:33) ตามขอยกยอคุณหัตถา ดังนี้

3. หัตถา <<< ข้อความที่ยกมาเข้าใจง่ายดีครับ  เป็น ดร. หรือเปล่าครับ

คุณเมธิโก [IP: 218.186.9.6] 05 พฤศจิกายน 2551 01:16 เข้ามาให้ความเห็นดังนี้

มีแต่คนปัญญาอ่อน ตัวเองยังไม่บรรลุ อะไรก็เขียนหรือสรุปว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ขอให้บรรลุอะไรสักอย่างก่อนนะ ค่อยมาเขียน

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า
อย่าเชื่อเพราะฟังกันต่อๆมา
อย่าเชื่อเพราะทำกันมานาน
อย่าเชื่อเพราะคำเล่าลือ
อย่าเชื่อเพราะมีอยู่ในตำรา
อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้
อย่าเชื่อเพราะตรงกับใจ
อย่าเชื่อเพราะมีเหตุผล
อย่าเชื่อเพราะตรงแนวคิดของคุณ
อย่าเชื่อเพราะดูกิริยาน่าเชื่อถือ
อย่าเชื่อเพราะท่านเป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใดพิจารณาด้วยปัญญาว่า เป็นกุศลควรทำให้เจริญ เป็นอกุศลควรละให้สิ้น

คุณปัทมปาณี [IP: 203.130.138.66] 20 ตุลาคม 2553 09:53 เข้ามาให้ความเห็นอีกคน ดังนี้

อนุโมทนาครับ เป็นเช่นนี้แล

ผมเข้าก็เลยตอบไปทีเดียวหลายคน ดังนี้ (20 ตุลาคม 2553 11:20)

เรียน คุณเมธิโก [IP: 218.186.9.6] กับคุณปัทมปาณี [IP: 203.130.138.66]

ในพระไตรปิฎกมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ธาตุธรรมเหมือนกันก็ย่อมไปด้วยกัน" คุณสองคนเพิ่งพิสูจน์ให้ผมได้รู้อีกครั้งหนึ่งคือ คนโง่ก็มักจะคบหากัน

โง่ด้วยกัน อ่านข้อเขียนกันเอง ก็นึกว่า ต่างคนต่างฉลาด หลอกตัวเองว่างั้นเถอะ

คุณเมธิโก ที่คุณยกมานั้นเป็นส่วนบทนำของ "อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)"

ที่พุทธวิชาการส่วนใหญ่ มักจะแปลว่า "ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง" ซึ่งทำให้สาวกพุทธวิชาการ เข้าใจผิดเนื้อหาของพระสูตรนี้ไปหมด

ข้อความที่จะยกต่อไป ผมนำมาจาก "พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ - ๑๘๔"

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่เป็น "ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง" เป็นส่วนบทนำของพระสูตรนี้เท่านั้น สาระสำคัญของในส่วนหลัง

พระสูตรนี้ พระปริยัติไทยรู้มานานแล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญอันใด เพราะ รู้อยู่ว่า ความสำคัญมันอยู่ในส่วนหลัง และไม่ได้เป็นพระสูตรหลักๆ อย่างเช่น อนัตตลักขณสูตร ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนข้อความที่ว่านั้น มาดังเพราะ ฝรั่งมาอ่านพบเข้า ฝรั่งแตกตื่น ดีใจ พวกทาสความคิดฝรั่งก็ทำให้ส่วนนั้น โด่งดังขึ้นมา

ส่วนที่สำคัญที่สุดของพระสูตรอยู่ตรงนี้

เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

นี่แหละเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่เหลือไปจากนี้ ผมจะยกตัวอย่างเป็นบางส่วน คือ ส่วนที่อธิบายส่วนที่สำคัญนั้น

………………………
ดูกร กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์
พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
พวกกาลามะ : จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์?
พวกกาลามะ : เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความหลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
พวกกาลามะ : เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
พวกกาลามะ : จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
พวกกาลามะ : เป็นอกุศล พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : มีโทษหรือไม่มีโทษ?
พวกกาลามะ : มีโทษ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
พวกกาลามะ : ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า :ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
พวกกาลามะ : ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้
.......................................

คุณเมธิโก [IP: 218.186.9.6] กับคุณปัทมปาณี [IP: 203.130.138.66] ที่ผมเขียนไปนั่น ผมไม่คิดว่า คุณทั้ง 2 คนจะเข้าใจ ความโง่ของคุณ กิเลสของคุณ จะปิดบังความคิดของคุณ

ที่เขียนๆ ไปนี่ ผมเขียนให้คนที่ฉลาดๆ ที่เข้ามาอ่าน เข้าใจเท่านั้น.....

ต่อไป คุณงง [IP: 111.84.33.42] 21 สิงหาคม 2552 12:12 พยายามเข้ามาอีกครั้ง  คุณงงพยายามจะมาแสดงความเห็นเพื่อให้ผมโต้แย้งหลายครั้ง

ผมไม่เคยโต้ตอบเพราะ คุณงงนี่ ในความคิดของผมแกทั้งงง ทั้งโง่ ทั้งอยากดัง  แต่อยากจะเขียนก็เขียนไป แต่ผมไม่เสวนาด้วย 

ครั้งนี้ ท่านให้ความเห็นดังนี้

อุ้ย พ่อฉลาด ขาดปัญญา หารู้ไม่ ท่านบรรลุอรหันต์แล้ว หรือ จะ นิพพานเมื่อไรบอกด้วยนะ จะทำบุญส่งให้ ไปเร็วนะ อยู่ไปคำสอนพระพุทธเจ้าเสียหายหมด

ก็พระพุทธเจ้าไม่ให้สอนว่านิพพานเป็นอะไร พระไตรปิกฏเล่มที่ ๑๑ นะอ่าน บางไหม คนฉลาด

สุดท้าย คุณแนะนำ [IP: 202.29.62.252] 23 พฤษภาคม 2553 12:50 เข้ามาให้ความเห็นดังนี้

บอกว่านิพพาน คือ ที่หมดแห่งทุกข์ทั้งปวง เราก็เกิดความอยากได้ขึ้นมา เราก็หาทางที่ถูกต้องที่จะปฏิบัติ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทางไหนล่ะที่ถูกต้อง

เปิดพระไตรปิฎก อ่านก็มาก ปรากฏว่าเกิดความสับสน ลองปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติแล้วเกิดทุกข์หรือไม่

เอาที่ปัจจุบันนี้ดูตัวเองว่าปฏิบัติไปแล้วตัวเองทุกข์หรือไม่ ถ้าไม่ทุกข์ก็แสดงว่าอันนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ไปต่อได้

ถ้าปฏิบัติไปแล้วเกิดทุกข์แล้วเราจะปฏิบัติไปทำไม ต้องถามตัวเองตลอด




อายตนะนิพพานไม่เป็นสถานที่

ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ข้อความของนายพายุช้างสารที่เหลือ ขอยกเนื้อหาข้อความของนายพายุช้างสารที่สรุปไว้เป็นข้อๆ อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
  • อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร
  • อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ
  • อายตนนิพพานเป็นเหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด
  • อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)
  • คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน
ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว 3 ข้อ ต่อไปนี้ เป็นข้อที่ 4

4) อายตนะนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)

ข้อความที่ว่า "อายตนะนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)" นี้ ต้องอธิบายกันยาว เพราะ อายตนะนิพพานนั้น ผู้ที่ "รู้" และ "เข้าใจ" จริงๆ ก็คือ พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ รวมถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย

ดังนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ภาษาศาสตร์  นิพพาน/พระนิพพาน/อายตนะนิพพานนั้น ไม่มีภาษาของมนุษย์ทั่วไปที่จะบรรยายได้ตรงตามเป็นจริง

พระพุทธเจ้าจึงทรงอธิบายโดยใช้ศัพท์ในภาษาบาลีเพื่อเทียบเคียงให้เข้าใจเท่า นั้น  ในบางพระสูตรจึงทรงใช้คำ "ปฏิเสธ" ว่าไม่ใช่สิ่งโน้น ไม่ใช่สิ่งนี้

ดังนั้น ถ้าจะ "จับผิด" กันจริง หรือยึดหลักภาษาศาสตร์จริงๆ เราไม่สามารถใช้คำว่า "สถานที่" ที่หมายถึง "สถานที่ในโลกมนุษย์" กับอายตนะนิพพานได้   แต่ถ้าต้องการสื่อสารกันให้เข้าใจ  เราก็สามารถจะใช้คำว่า "สถานที่" กับอายตนะนิพพานได้

ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะสื่อสารกันได้อย่างไร

ในประเด็นนี้ ถ้านายพายุช้างสารจะยืนยันว่า อายตนะนิพพานไม่ใช่สถานที่ (เมื่อเทียบเคียงกับภาษาของมนุษย์ที่ไม่เคยเห็นนิพพาน)

นายพายุช้างสารก็ต้องหาหลักฐานมา "แย้ง" พระสูตรทั้ง 3 หลักฐานข้างต้น  เพราะ ความหมายของพระสูตรดังกล่าวนั้น  แสดงว่า อายตนะนิพพาน "มีอยู่"

โดยปกติแล้ว พวกพุทธวิชาการ/นักปริยัติที่เชื่อว่า นิพพานสูญไปนั้น ไม่กล้าเขียนถึงพระสูตรทั้ง 3 หลักฐานข้างต้นที่ผู้เขียนนำมาเป็นหลักฐาน เพราะ ไม่รู้จะแย้งพระสูตรทั้งสามนั้นอย่างไร

พุทธพจน์นั้น นักวิชาการทั้งโลกยอมรับกันว่า เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง  ขนาดอรรถกถา ฏีกา ฯลฯ ถ้าขัดแย้งกับพุทธพจน์ก็ถือว่าใช้ไม่ได้

ดังนั้นพวกพุทธวิชาการ/นักปริยัติที่เชื่อว่า นิพพานสูญจึงใช้วิธีการอ้างลำเอียง (card staking) ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติ (fallacy) ในทางตรรกวิทยาคือ ไม่กล่าวถึงเสียเลยเป็นส่วนใหญ่

5) คนที่เชื่อว่า อายตนะนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน

เมื่อถึงข้อสุดท้ายนี้ จึงไม่มีคำวิพากษ์วิจารณ์อะไร เพราะ จากหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า นายพายุช้างสารไม่ได้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับนิพพานแม้แต่น้อย

และโดยสรุปแล้ว นายพายุช้างสารเองนั่นแหละที่ "เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า"

นอกจากนั้นแล้ว นายพายุช้างสารยังเป็นคนที่ฉลาดน้อย แต่คิดว่า ตัวเองฉลาดมากอีกด้วย

สรุป

จากที่ผู้เขียนได้อธิบายมาจนยืดยาวถึงขนาดนี้ สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า ในแวดวงผู้ที่สนใจในพระศาสนา มีบุคคลหน้าใหม่เข้ามาร่วมปะทะสังสรรค์กันอยู่เสมอๆ

ในประเด็นถือว่าเป็นสิ่งดี  แต่ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ บุคคลหลายคนไม่ได้มีองค์ความรู้ที่แน่นหนาอะไรนัก

พวกนี้เห็นว่า เว็บไซต์ต่างๆ นั้น สามารถเข้าร่วมปะทะสังสรรค์กันได้  เพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเท่านั้น จึงเข้าไปร่วมสังสรรค์ เพื่อไปแสดงความโง่ของตนเองเท่านั้น

ดังนั้น เว็บไซต์ต่างจึงมีบุคคลที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง อ่านหนังสือไม่มากนัก แต่โมหะนั้นมากมายล้นเหลือ อย่างเช่น นายพายุช้างสารที่ยกมาข้างต้นปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก

กลุ่มคนพวกนี้ มักจะชอบดูถูกคนอื่นๆ ที่มีความเห็นแตกต่างจากตนว่า โง่เง่าเต่าตุ่น  โดยไม่เคยส่องกระจกเพื่อชะโงกดูเงาของตนเองเลยว่า  ตนเองนั่นแหละโง่เง่าเต่าตุ่นตัวจริงเสียงจริง

ประการสุดท้ายก่อนจาก ฟรานซิส เบคอน (1561-1626) กล่าวว่า ความรู้นั้นเองคืออำนาจ (Knowledge itself is power.) ผู้ที่มีความรู้จริงก็สามารถนำไปสร้างอำนาจ สร้างฐานะ สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้

สำหรับคนที่รู้ไม่จริง เช่น นายพายุช้างสารคนนี้ อำนาจของความไม่รู้ก็กลับมา "ฆ่า" ชื่อเสียงหน้าตาของตนเองได้  น่าสมเพทเวทนาแท้ๆ...



อายตนะนิพพาน-ดับอายตนะ

ข้อผิดพลาดของนายพายุช้างสาร

ขอยกข้อเขียนของนายพายุช้างสารอีกครั้งหนึ่งดังนี้

ส่วนเรื่องอายตนนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่า จะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย

อายตนนิพพานตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ ก็คือดับที่เหตุ ดับที่บ่อเกิดหรือดับที่แดนเกิดฯ

ถ้าคิดจะพยายามให้เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) ละก็ ย่อมแสดงว่าเป็นคนอ่อนภาษา อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า อธิบายมามากแล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเข้าใจได้ตามสมควร

ข้อความของนายพายุช้างสารนั้น สามารถแยกย่อยออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร
อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ
อายตนนิพพานเป็นเหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด
อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)
คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน

ผมขอวิพากษ์วิจารณ์เป็นข้อๆ ไปดังนี้

1) อายตนะนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร

ข้อนี้ โดยเบื้องต้นผู้เขียนต้องยอมรับข้อเขียนของนายพายุช้างสารเสียก่อนว่าถูกต้อง  ดังนั้น เมื่อนายพายุช้างสารกล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับ "อายตนะนิพพาน" เป็นเรื่องง่ายของนายพายุช้างสาร

ผู้เขียนก็ต้องยอมรับก่อนว่า นายพายุช้างสารคงจะมีหลักฐานทางวิชาการแน่นหนา  น่าจะเรียนในโลกและเรียนในทางธรรมในขั้นสูง

นอกจากนั้นแล้ว ก็คงจะปฏิบัติธรรมจนได้ผลดีพอสมควร หรือดีมากๆ  จนถึงกระทั่งว่า เรื่องนิพพานซึ่งนักวิชาการถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดงกันไปทั่วโลก ก็ยังหาข้อยุติกันไม่ได้  จนกระทั่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเป็นอย่างน้อย

แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่า ข้อความของนายพายุช้างสารเป็นจริงหรือไม่เพราะดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประเด็นเรื่องนิพพานนี้ เป็นที่ถกเถียงกันในวงวิชาการมาช้านาน

วงวิชาการที่ว่านั้น ก็มีผู้ทรงความรู้มากมายที่เข้ามาร่วมวงถกเถียงกัน ทั้งผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และพวกเปรียญต่างๆ  ซึ่งข้อถกเถียงกังกล่าวนั้น ยังไม่ยุติว่า ฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด

อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประเด็นเรื่อง อายตนะนิพพาน ยังเป็นปัญหาสำหรับวงวิชาการอยู่ 

ไม่ทราบว่านายพายุช้างสารมีองค์ความรู้ใด หรือมีระดับความฉลาดทางปัญญา (IQ) อยู่ในระดับใด จึงอาจหาญกล้ากล่าวในที่สาธารณะว่า "ส่วนเรื่องอายตนะนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่าจะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย"

2) อายตนะนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ" นี้  ทำให้ผู้เขียน "รู้" และ "เข้าใจ" ว่า นายพายุช้างสารไม่ได้เข้าใจเรื่องนิพพานเลยแม้แต่น้อย

เพราะในพระไตรปิฎกไม่ได้ใช้คำว่า "อายตนะนิพพาน" แต่จะใช้คำว่า "อายตนะ", "อมตนิพพาน", และ "นิพพาน"  ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

คำว่า "อายตนนิพพาน" เป็นภาษาไทย ซึ่งในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อสด ก็ขอยืนยันว่า หลวงพ่อสดหมายถึง "ที่" ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะไปอยู่ เมื่อปรินิพาน/นิพพานไปแล้ว

เมื่อเป็นภาษาไทยแล้ว ก็ไม่ต้องไปแปลอีกแล้ว นี่คือ "ความไม่รู้" ประการที่ 1 เกี่ยวกับคำศัพท์ของนิพพานของนายพายุช้างสาร

ประการที่ 2  ความหมายตรงตัว (Denotative meaning) ของนิพพานไม่ได้แปลว่า "ดับ"  ดังนั้น ไม่ควรนำความหมายโดยนัยมาใช้กับบริบท (context) นี้

การที่นายพายุช้างสารแปลคำว่า อายตนะนิพพานเป็นว่า ดับนิพพานเป็นตัวอย่างที่ดีของการแปลความหมายของคำต่างๆ ในพระไตรปิฎกไปตามความเห็น/ความเชื่อของตนเอง

เพราะ ตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนที่มีความเห็น/ ความเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพียงชาติเดียวตามความบังเอิญของธรรมชาติเท่านั้น

ความหมายโดยนัยของนิพพานที่หมายถึงว่า ดับกิเลสหมดจนเข้านิพพาน ก็กลับกลายมาเป็นดับนิพพานหรือนิพพานดับไปเสียเลย

เพียงหลักฐานเพียงข้อนี้ ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า นายพายุช้างสารคงศึกษาทั้งด้านวิชาการทางโลกและทางธรรมไม่มากนัก  เพราะ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ นายพายุช้างสารยังไม่ทราบ กล่าวคือ คำไหนเป็นภาษาไทย  คำไหนเป็นภาษาบาลี

นอกจากนั้นแล้ว ถ้ารู้ว่าผู้ใดใช้ศัพท์คำไหน เช่น หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้ศัพท์คำว่า "อายตนะนิพพาน"  นักวิชาการที่ดีเข้าก็จะต้องศึกษาและตีความ "อายตนนิพพาน" ในความหมายที่หลวงพ่อสดหมายถึง 

ไม่ใช่ไปตีความใหม่ตามความคิดของตนเอง แล้วการศึกษามันจะได้ผลตรงตามความเป็นจริงได้อย่างไร

3) อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด"  ยิ่งแสดงถึงความไม่รู้ของนายพายุช้างสารมากขึ้นไปอีก เพราะนิพพานไม่ได้เป็น "เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" แต่เป็นจุดหมายปลายทาง (end) ของพุทธศาสนิกชน

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" นั้น สามารถ "ฟันธง" ได้เลยว่า นายพายุช้างสารไม่ได้ศึกษาในเรื่องศาสนามาเท่าใดนัก

ความรู้ที่ว่า อายตนะนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของพุทธศาสนิกชน เป็นเรื่องง่ายๆ จริงๆ  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครมาสับสนในเรื่องนี้  ที่สับสนกันก็มักจะเป็นว่า นิพพานสูญไปเลยหรือไม่ หรือนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาอะไรในทำนองนั้น

ผู้เขียนบทความนี้ก็เพิ่งพบว่า มีคนเข้าใจผิดว่า "อายตนะนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด"...