ความหมายของคำในภาษานั้น
ในทางภาษาศาสตร์ (Linguistics)
มีประเด็นศึกษากันอย่างมากมาย
มีวิชาเรียนโดยเฉพาะชื่อวิชาอรรถศาสตร์ (Semantics) มีเรื่องที่จะต้องเรียนกันตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก
นั่นก็แสดงให้เห็นว่า
“ความหมาย” ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ที่มาพูด/เขียนกันโดยไม่มีหลักวิชาการ
ความหมายเมื่อคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความหมายตรงตัว
(Denotative
meaning) และความหมายโดยนัย/ความหมายแฝง/ความหมายนัยประหวัด
Connotative meaning)
ผู้เขียนข้อยกตัวอย่างจากหนังสือชื่อ
"ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์"
ของ ศาสตราจารย์ ดร. พิณทิพย์ ทวยเจริญ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 362 ดังนี้
เด็กผู้ชายคนนี้เล่นตลก
ความหมายตรงตัว
(Denotative
meaning) ของข้อความดังกล่าวก็คือ
เด็กผู้ชายคนดังกล่าวมีอาชีพเล่นตลก จะพบเห็นได้ในวงตลกที่แสดงตามโทรทัศน์หรือแผ่นซีดี
ที่สามารถดูได้เมื่อท่านขึ้นรถปรับอากาศ
ความหมายโดยนัย/ความหมายแฝง/ความหมายนัยประหวัด
Connotative
meaning) ของข้อความดังกล่าวก็คือ เด็กคนนั้น "ไม่ซื่อตรง" หรือ "โกหก" ความหมายประเภทนี้ ไม่ตายตัว
ขึ้นกับสถานการณ์หรือบริบท (context)
จะเห็นได้ว่า
ภาษานั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เมื่อสื่อสารกันออกไป ผู้ส่งสาร
[ผู้พูด/ผู้เขียน] จึงมีอิสระที่จะใช้ความหมายให้ตรงกับความต้องการของตน
ผู้ที่อ่านแล้ว และต้องการจะนำไปใช้
ควรจะตระหนักไว้ให้
"หนัก" ว่า
ผู้เขียน/ผู้พูดมีความหมายเป็นประการใดแน่
นอกจากนั้นแล้ว ต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังว่า
ผู้เขียน/ผู้พูดใช้ความหมายได้ถูกต้องตามหลักวิชาภาษาศาสตร์หรือไม่?
กลับมาที่ประเด็นปัญหาที่ต้องการถกเถียงกันในบทความนี้
ความหมายตรงตัว (Denotative
meaning) ของนิพพานนั้นไม่ได้แปลว่า "ดับ” อย่างที่นายพายุช้างสารเข้าใจ
ความหมายตรง (Denotative meaning) ของนิพพานมีดังนี้คือ
พระมหาสมจินต์
สมฺมาปญฺโญได้นำเสนอบทความในการเสวนาทางวิชาการ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546 ณ
ห้องประชุม 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ให้ความหมายของนิพพานไว้ว่า
นิพพาน ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป,
ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด)
รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ"
เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา
โดยสรุป
นิพพานก็คือไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ
|
สมเด็จพระญาณสังวรได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ
"ธรรมดุษฎี" หน้า 98 ว่า
คำว่า นิพพานนี้ประกอบขึ้นด้วยศัพท์คือ นิ กับ วาน
ภาษาบาลีหรือมคธว่า นิพพาน ภาษาสันสกฤตว่า นิรวาณ แปลว่า ออกจากวาน หรือไม่มีวาน
คำว่า วาน นั้นอย่างหนึ่ง แปลว่าเครื่องเสียบแทง
ใช้หมายถึงลูกศรก็มี อย่างหนึ่งแปลว่า เครื่องร้อยรัด
ที่แปลว่า เครื่องเสียบแทงในที่นี้ก็คือเครื่องเสียบแทงจิตใจ
ถ้าหมายถึงลูกศร ก็หมายถึงลูกศรที่เสียบแทงจิตใจไว้
ส่วนที่แปลว่าเครื่องร้อยรัด ก็หมายถึงเครื่องร้อยรัดจิตใจนี้เอง
|
โดยสรุป
จะเห็นได้ว่า ความหมายของนิพพานที่เป็นความหมายตรงตัว (Denotative meaning) แปลว่า ปราศจากเครื่องร้อยรัด
หรือปราศจากเครื่องเสียดแทง
ในเมื่อความหมายของนิพพานที่เป็นความหมายตรงตัว
(Denotative
meaning) แปลว่า ปราศจากเครื่องร้อยรัด
หรือปราศจากเครื่องเสียดแทง
ดังนั้น
จึงเป็นอันที่น่าสงสัยว่า ความหมายของนิพพานที่แปลว่า "ดับ” มีความเป็นมาอย่างไร?
นิพพานกับความหมายโดยนัยหรือความหมายแฝง (Connotative
meaning)
ในการเขียนบทความชิ้นนี้
และในหน้าเว็บขนาดนี้
ผู้เขียนไม่สามารถที่จะลงลึกไปได้ว่า ความหมายของนิพพานที่แปลว่า "ดับ" มีความเป็นมาอย่างไร
แต่มีข้อมูลจากหนังสือบางเล่ม
ซึ่งแสดงให้เห็นถึง "ร่องรอย"
ของความเป็นมาดังกล่าว ซึ่งอาจจะเป็นต้นแหล่ง/ต้นฉบับ
หรืออาจจะเป็นการนำมาจากแหล่งความรู้อื่นของผู้เขียนก็ได้
ข้อมูลดังกล่าวมาจากหนังสือคู่มือมนุษย์
(2548?)
ของท่านพุทธทาส ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในหน้า
104 ดังนี้
นิพพาน แปลว่า ไม่มีเครื่องทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่งแปลว่า
ความดับสนิทไม่มีเหลือ ฉะนั้น คำว่า นิพพานจึงมีความหมายใหม่ๆ เป็น 2 ประการ คือ
ดับไม่มีเชื้อเหลือสำหรับจะเกิดมาเป็นความทุกข์อีกต่อไป
นี่อย่างหนึ่ง
และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปราศจากความทิ่มแทง ความเผาลน
ปราศจากความผูกพันร้อยรัดต่างๆ ทุกอย่างทุกประการรวมความแล้ว
ก็แสดงถึงภาวะที่ปราศจากทุกข์โดยสิ้นเชิง
|
จากข้อความดังกล่าว
ท่านพุทธทาสให้ความหมายของนิพพานไว้ 2 ประการ ดังนี้คือ
1) ไม่มีเครื่องทิ่มแทง
2) ความดับสนิทไม่มีเหลือเชื้อ/ทุกข์เป็นภาวะที่ปราศจากทุกข์โดยสิ้นเชิง
ในความหมายแรกนั้น
ไม่มีข้อสงสัยใด เพราะ ท่านพุทธทาสให้ความหมายตรงกับของพระมหาสมจินต์
สมฺมาปญฺโญและสมเด็จพระญาณสังวร
สำหรับความหมายที่สองนั้น
เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นความหมายโดยนัย/ความหมายแฝง (Connotative meaning)
สำหรับความหมายโดยนัย
(Connotative
meaning) ที่แปลว่า "ดับ"
นี้ จากการอ่านหนังสือต่างๆ
ผู้เขียนสันนิษฐานว่า
ผู้ที่ใช้คำว่านิพพานในความหมายว่า "ดับ" นำความหมายของ
"นิโรธ" มาใส่ให้กับความหมายของ "นิพพาน"
ในการใช้ภาษาเช่นนี้
ไม่ถือว่า "ผิด" แต่ประการใด
เพราะดังได้กล่าวแล้วว่า ภาษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
ผู้เขียน/ผู้พูดมีสิทธิที่จะใช้ได้ตามที่ตนเองต้องการ
แต่มีหลักการสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ
ต้องใช้ให้ถูกกับสถานการณ์หรือบริบท (context)
ในกรณีของนิพพานนั้น
ถ้าจะแปลว่า ดับกิเลส จนสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ
ในบางบริบท (context) ก็ถือว่า ใช้ได้
แต่ในกรณีที่มีข้อพิพาทกันถึง
"การมีอยู่" หรือ "ไม่มีอยู่" ของนิพพาน
ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงว่า "พระอรหันต์" เมื่อนิพพานแล้ว มี
"สภาพ" เป็นเช่นไร และโยงไปถึงเรื่องที่ถกเถียงกันใหญ่โตว่า
"นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา" หรือ "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อนัตตา"
นั่นไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเอา
ความหมายโดยนัย (Connotative
meaning) ที่แปลว่า "ดับ" นี้ มาเป็นหลักฐาน
ควรที่จะใช้ความหมายตรงตัว
(Denotative
meaning) คือ ปราศจากเครื่องร้อยรัด
หรือปราศจากเครื่องเสียดแทง
มาเป็นหลักฐานสนับสนุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น